แนะนำ clicknic แอปฯคัดกรองโควิด-19

สปคม.และคลิกนิก ได้มีการนำเทเลเมดิซีน(Telemedicine) มาใช้ในขั้นตอนการคัดกรองผู้ป่วยจาก โควิด-19 เบื้องต้น ผ่านทาง “คลิกนิก แอปพลิเคชัน” (clicknic Application) ได้ง่ายๆ ไม่ต้องเดินทาง

แนวคิดในการริเริ่มสร้าง clicknic

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ซึ่งเป็นโรคระบาดใหม่ แต่กลับแพร่ระบาดได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว  ทำให้ทางโรงพยาบาลแต่ละแห่งที่เปิดรับการรักษาสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน จนเกิดความแออัดในบางโรงพยาบาลและมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไปยังผู้ที่ปกติภายในโรงบาล ล่าสุดจึงได้มีเปิดตัว แอปพลิเคชัน “clicknic (คลิกนิก)” ที่ใช้ในการคัดกรองความเสี่ยงในการติดเชื้อ

โดย สปคม. เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการนำ เทเลเมดิซีน(Telemedicine) มาใช้ในขั้นตอนการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น โดยได้ร่วมกับ คลิกนิก เทเลเมดิซีน เพื่อเปิดบริการคัดกรองผู้ติดเชื้อไวรัสเบื้องต้น ผ่านทาง “คลิกนิก แอปพลิเคชัน” (clicknic Application) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดความวิตกกังวล ลดการเคลื่อนที่ของผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำที่ยังไม่จำเป็นต้องเดินทางมาตรวจเองภายในโรงบาล และยังเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ให้กับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้เข้ามารับการตรวจยังโรงพยาบาลแทน

“Clicknic” คืออะไร

นายนีล นิลวิเชียร ประธานกรรมการบริหาร คลิกนิก เทเลเมดิซีน ได้ออกมาเผยว่า คลิกนิก เทเลเมดิซีน เป็นบริการทางการแพทย์ ที่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ สามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกันได้แบบ real-time ผ่านการสื่อสารด้วย ระบบวิดีโอคอล(VDO Call) พร้อมระบบเชื่อมโยงกับเครือข่ายร้านยาและระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ทำให้ คลินิก เทเลเมดีซีน ได้ทำการพัฒนาเครื่องมือสำหรับ คัดกรองเบื้อต้นผ่านทางแอปพลิเคชัน “clicknic” ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าไปกรอกข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น เพื่อที่จะได้ทำข้อมูลนั้นไปประเมินหาความเสี่ยงของตนเอง อีกทั้งยังสามารถขอรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้ผ่านรูปแบบ วิดีโอคอล(VDO Call) เมื่อแอปพลิเคชัน Clicknic ได้เริ่มทดลองเปิดใช้บริการตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2563 ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และได้มีการสำรองข้อมู,การใช้งานจากโรงพยาบาลสมุทรปราการ พบว่า สามารถลดจำนวนผู้ที่มาใช้บริการคัดกรองไวรัส โควิด-19 อีกทั้งยังช่วยลดความแออัดของผู้ที่มาใช้บริการโรงพยาบาลได้เป็นอย่างมาก

จากความสำเร็จในการทดลองใช้แอปพลิเคชันทาง คลิกนิก จึงได้ร่วมมือกับ สปคม. ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน “Clicknic” ให้สามารถใช้งานได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และเพื่อพัฒนากระบวนการคัดกรองที่มีความแม่นยำทันต่อสถานการณ์มากยิ่งขึ้น และเพื่อเริ่มให้บริการในเขตพื้นที่กรุ่งเทพมหานครและปริมณฑล และอาจจะมีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเพื่อครอบคลุมทั่วประเทศในอนาคต

โดยประชาชนสามารถคัดกรองความเสี่ยงด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน “คลิกนิก” ได้ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. วันจันทร์–ศุกร์ และเตรียมเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงเร็วๆ นี้

อ่านข่าว โควิด-19 เพิ่มเติมได้ที่ :

ทำไมต่างประเทศรณรงค์ไม่ควรใส่หน้ากากอนามัย?
CUREVAC ผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ใกล้สำเร็จ!!!
ไวรัสโควิด -19 สามารถกลายพันธุ์ได้จริงหรือไม่
!!! โควิด-19 ไวรัสหยุดโลก !!!
COVID-19 อันตรายถึงชีวิต!!

5 ขั้นตอนกระบวนการคัดกรองผ่านแอปฯ “clicknic”

ภก.อรรถพล ตันติกำเนิดกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ คลิกนิก เทเลเมดิซีน ได้ออกมาเผยขั้นตอนกระบวนการคัดกรองผ่านทางแอป “clicknic” โดยมีด้วยกัน 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. คัดกรองด้วยแบบประเมิน (Screening Questionnaire) ในขั้นตอนที่ 1จะเป็นที่ให้ผู้ใช้บริการได้ทำการกรอกข้อมูลสุขภาพของตนเองหรือของผู้ที่ต้องการทราบ ตามความเป็นจริง เพื่อที่จะนำไปทำกระบวนการประเมินความเสี่ยงให้ได้แม่นยำที่สุด
  • VDO Call กับเจ้าหน้าที่ ในขั้นตอนที่ 2 เป็นการให้ผู้ใช้บริการที่มีความประสงค์ต้องการสอบถาม หรือรับคำแนะนำ จากแพทย์โดยตรง โดยจะสื่อสารพูคุยกันในรูปแบบ VDO Call
  • แยกความเสี่ยง ออกเป็น  3 ระดับ สูง ปานกลาง ต่ำ
  • ความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงต่ำ แนะนำการปฏิบัติตัว ในขั้นตอนที่ 3 หากมีการประเมินมาแล้วพบว่ามีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ถึงปลานกลาง ทางแพทย์จะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวในการรักษาเบื้องต้นกับผู้ใช้บริการนั้นๆ
  • ความเสี่ยงสูง ประสานงานเรื่องการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในขั้นตอนที่ 3 หากมีการประเมินมาแล้วพบว่ามีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ทางแพทย์จะทำการประสานงานกับผู้ใช้บริการและทางโรงพยาบาลเพื่อดำเนินการส่งตัวไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • หากพบผลบวกคนไข้จะได้รับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลทันที  ในขั้นตอนที่ 4 หากผู้ใช้บริการที่ได้ทำการส่งตัวมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการแล้วมีผลตรวจเป็นบวก จะได้รับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลทันที
  • การติดตามกรณีกลับมาดูอาการที่บ้านได้ (Self isolation) ด้วยระบบเทเลเมดิซีน ในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นการติดตามอาการของคนไข้หลังกลับมาดูที่บ้านได้ ด้วย ระบบเทเลเมดิซีน หรือเป็นการที่ให้ผู้ป่วยและแพทย์สามารถสื่อสารกันได้ ผ่านรูปแบบ VDO Call นั้นเอง

อย่างไรก็ตาม แอปพลิเคชัน คลิกนิก จะเปิดให้บริการในระยะแรกสำหรับประชาชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ (ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นไป)ในอนาคตกำลังขยายพื้นที่การให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศผู้สนใจใช้บริการ สามารถ Download Application ได้ที่

ระบบ ios : https://apps.apple.com/th/app/clicknic/id1348575147

ระบบ android: https://play.google.com/store/apps/details?id=co.clicknic.clicknicandroid&hl=t

สำหรับโรงพยาบาลที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมใช้บริการระบบคัดกรองเชื้อโควิด-19 ให้กับประชาชนในพื้นที่ผ่าน คลิกนิก แอปพลิเคชัน สามารถติดต่อและส่งรายละเอียดได้ทาง Inbox ของ Facebook Page: Clicknic 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :

https://www.posttoday.com/life/healthy/620267

ทางเรามี 1 ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงที่เล็กกะทัดรัด และที่ลวดลายที่หรูหรา ที่สำคัญมีการใช้งานที่ง่ายๆ มาก เพียงแต่นำหัวน้ำยาใส่ก็สามารถสูบได้เลย ในทางกลับกัน บุหรี่ไฟฟ้า ต้องมีการทำลวด ใส่สำลี และหยดน้ำยา ถึงจะสามารถสูบได้ ทุกคนอ่านแล้วคิดว่ามันสะดวกและดีใช่ไหมล่ะผลิตภัณฑ์ที่เราจะแนะนำนั้นก็คือ RELX หากคุณกำลังมองหาวิธีการเลิกบุหรี่ หรือหาสิ่งทดแทน คุณห้ามพลาด RELX สามารถตอบโจทย์คุณได้อย่างแน่นอน  อย่ารอช้าลองเลย

This image has an empty alt attribute; its file name is Artboard-10-100-800x800.jpg

This image has an empty alt attribute; its file name is Artboard-11-100-800x800.jpg
buy relx now

และ เราขอนำเสนอ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในปี 2020

KARDINAL STICK POD

This image has an empty alt attribute; its file name is Artboard-5-100-16-800x800.jpg
This image has an empty alt attribute; its file name is Artboard-6-100-12-800x800.jpg
buy relx now

ด้วยความปราถนาดีจาก
: RELX THAILAND
https://relxthailandclub.com/
: KARDINAL STICK THAILAND
https://kardinalthailand.com/
#relx
#relxthailand
#สุขภาพที่ปลอดภัย
#Kwitsmoking
#ksThailand
#kardinalstick
#ks
#kardinalstickth
#เลิกบุหรี่
#นวัตกรรมช่วยเลิกบุหรี่

Loading